ผู้เขียน หัวข้อ: 9 วิธีป้องกันเบาหวาน  (อ่าน 3507 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

zxcc

  • Civilian
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
9 วิธีป้องกันเบาหวาน
« เมื่อ: 26 ธันวาคม 2017, 20:12:16 »
 

9 วิธีป้องกันเบาหวาน

วิธีป้องกันเบาหวานที่สำคัญได้แก่

(1). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

การออกแรง-ออกกำลังจะทำให้ระดับแป้งและน้ำตาลในกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อจะย่อยสลายแป้งที่สะสมไว้ และดึงน้ำตาลจากเลือดเป็นแหล่งพลังงาน ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

การออกกำลังแบบต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ดึงสปริง ดึงยางยืด พิลาทิส กายบริหารบางท่า เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส ฯลฯ มีส่วนช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ดีขึ้นufabet 

(2). ระวังอย่าให้น้ำหนักเกิน

มวลไขมันที่มากเกินจะปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นการอักเสบเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้ตัวรับอินซูลิน (insuline receptors) ที่ผนังเซลล์ต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน (อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง)

ถ้าอ้วนไปแล้ว... ควรเริ่มเปลี่ยนตัวเองจากอ้วนไม่ฟิตเป็นอ้วนฟิต ระวังอย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นไปอีก และพิจารณาลดน้ำหนัก (ถ้าทำได้)ยูฟ่าเบท

(3). ระวังอย่าให้อ้วนลงพุง

วัดเส้นรอบเอว... ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร และให้คีบหนังหน้าท้องดูว่า หนาเกิน 1 นิ้วหรือไม่ (ไม่ควรเกิน)

การลดอ้วนลงพุงจำเป็นต้องใช้วิธีออกกำลัง (ดีที่สุดคือ คาร์ดิโอหรือแอโรบิค เช่น เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส จักรยาน ฯลฯ สลับกับการออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ)

(5). รับแสงแดดอ่อน

รับแสงแดดอ่อนตอนเช้า (ก่อน 8.30-9.00 นาฬิกา) หรือตอนเย็น (หลัง 16.00-16.30 นาฬิกา) วันละ 10-15 นาที และพิจารณากินนมไขมันต่ำเสริมวิตามิน D หรือวิตามินรวมที่มีวิตามิน D เพื่อป้องกันภาวะวิตามิน D ต่ำ

ภาวะวิตามิน D ต่ำทำให้ระดับแคลเซียมชนิดแตกตัวเป็นประจุ (ionized calcium) ในเลือดลดลง ซึ่งอาจกระตุ้นให้ต่อมพาราธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนมากขึ้น (พบว่า ฮอร์โมนนี้ในระดับสูงเพิ่มเสี่ยงภาวะดื้อต่ออินซูลิน)

ทางที่ดีมากๆคืออย่ารับแดดอ่อนเฉยๆให้ออกแรง-ออกกำลังไปด้วยสมัครufabet   

 

(6). ลดข้าวขาว+แป้งขัดสี

วันไหนที่ไม่ได้ออกแรง-ออกกำลังมาก ให้ลดแป้งขัดสี เช่น ข้าวขาว อาหารทำจากแป้ง ฯลฯ และน้ำตาลลง และลดน้ำตาลในรูปเครื่องดื่มรวมทั้งน้ำผลไม้กรองกาก

วิธีที่ดีคือ เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง และเปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง, ลดปริมาณข้าว-อาหารทำจากแป้งลง 1/4 ตั้งแต่อายุ 20 ปี, เพิ่มผัก-ถั่วเข้าไปแทน

(7). ไม่ดื่มหนัก

การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงโรคตับอ่อนอักเสบ (เป็นอวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้กินมาก และอ้วนลงพุงง่าย

(8). ไม่สูบบุหรี่

(9). กินอาหารให้ครบทุกหมู่

ควรกินอาหารสุขภาพ หนักไปทางผัก ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ เมล็ดพืช นัท (ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ อาหารที่มีคุณสมบัติคล้ายนัท คือ ถั่วลิสงต้ม) ปลาที่ไม่ผ่านการทอดอย่างน้อย 80% ของอาหารทั้งหมด

อาหารที่คนไทยส่วนใหญ่กินขาดอาหารกลุ่มถั่ว ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่รุนแรงมาก เนื่องจากถั่วมีโปรตีนสูง มีไขมันชนิดดี มีสารพฤกษเคมี-สารต้านอนุมูลอิสระสูง และที่สำคัญมากๆ คือ มีเส้นใยหรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำสูง 

...

เส้นใยหรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำมีมากในถั่ว ข้าวโอ๊ต แอปเปิล ส้ม มะละกอ ผักที่มีเมือกลื่น ผักส่วนใหญ่มีเส้นใยชนิดละลายน้ำต่ำ เส้นใยนี้ช่วยทำให้การย่อย-การดูดซึมน้ำตาลช้าลง

กินอาหารที่ไม่ค่อยดีกับสุขภาพบ้างได้ไม่เกิน 20% ของอาหารทั้งหมด และควรกินพร้อมอาหารสุขภาพ เนื่องจากเส้นใยหรือไฟเบอร์ ไขมันชนิดดี สารพฤกษเคมี (สารคุณค่าพืชผักได้แก่ ผักผลไม้ถั่วหลายๆ สี) และสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดอันตรายของอาหารกลุ่มนี้